เป็นวาระสำคัญของปีที่ต้องปักหมุดไว้บนหน้าปฏิทิน เฝ้ารอด้วยใจจดจ่อว่าหนังสือเล่มใดจะคว้าชัย กับงานประกาศผลรางวัล “ชมนาด” (Chommanard Book Prize) รางวัลหนังสืออันทรงเกียรติสำหรับนักเขียนสตรี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 สนับสนุนนักเขียนสตรีให้ก้าวสู่การเป็นนักเขียนระดับสากล รวมทั้งช่วยทำการตลาดด้านลิขสิทธิ์ไปสู่ภาษานานาอารยประเทศทั่วโลก ส่งต่อคุณค่าความงามของวรรณกรรมไปสู่บทละครภาพยนตร์ โดยปีนี้ คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเป็นประธานมอบรางวัล ท่ามกลางบรรยากาศคับคั่งไปด้วยแขกผู้มีเกียรติ อาทิ คุณอาทร เตชะธาดา , คุณพิสุทธิ เลิศวิไล , คุณศุภลักษณ์ อัมพุช, คุณอรุโณชา ภาณุพันธุ์ , คุณสุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์ , คุณอุษณีย์ วิรัตกพันธ์, คุณนรีภพ จิระโพธิรัตน์, รศ.ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, คุณกนกพันธ์ สุนทรกมลวัฒน์, คุณชมัยภร แสงกระจ่าง, คุณณรงค์ฤทธิ์ ยงจินดารัตน์ , ผศ.ดร ณัฏฐ์ธีรตา วิทิตวิญญูชน , ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร, คุณกนกวลี พจนปกรณ์ ,คุณกนกอร นนทสวัสดิ์ศรี ฯลฯ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก Ms.GeumJoo Lin จาก Board member of PublisHER ในฐานะเครือข่ายสตรีระดับโลกที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง เพื่อสร้างความเท่าเทียมและสนับสนุนผู้นำหญิง มาสุนทรกถา “แรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงก้าวเดินสู่เวทีสากล” ผลักดันพลังของผู้หญิง ให้ไปไกลยิ่งกว่าเดิม ณ ห้องประชุมชั้น 29 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ธนาคารกรุงเทพ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประกาศผลการตัดสิน “รางวัล ชมนาด” ปีนี้เป็นการจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 แล้ว รางวัลชมนาด (Chommanard Book Prize) คือรางวัลแห่งความสำเร็จของสตรีที่มีใจรักในงานประพันธ์ งานวรรณกรรม เป็นงานที่สร้างสรรค์ของบุคคล ที่เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนสภาพชีวิต สังคมและคตินิยมของคนทุกยุคทุกสมัย วรรณกรรมจึงเป็นสื่อกลางที่สามารถทำให้เข้าใจคนในสังคมอื่นได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรางวัล เวทีการประกวดวรรณกรรมนี้ ยังได้สร้าง “นักเขียน” คุณภาพ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ งานละคร งานภาพยนตร์ สร้างสรรค์ “อาชีพ” ที่ยืนหยัดในก้าวต่อๆ ไป
ดร.กอบศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า “ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด มุ่งมั่น ส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสสตรีในสังคม ได้มีความภาคภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะเป็นนักเขียนระดับนานาชาติ หรือระดับสากล และขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยาน ในการประกาศผลรางวัลในครั้งนี้ และขอยินดีล่วงหน้ากับผู้ที่ได้รับรางวัล ขอเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการทุกท่าน ทีมงานทุกคน ให้ได้ดำเนินการสร้างสรรค์งานคุณภาพที่ดีเช่นนี้ต่อไปครับ”
คุณนรีภพ จิระโพธิรัตน์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานภาพรวมของชมนาดในปีนี้โดยถูกเรียกว่าเป็นปีของ “คนรุ่นใหม่” นวนิยายมีเนื้อหาแหวกขนบ พร้อมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนกับปีก่อน ๆ ในขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนสังคมปัจจุบันที่มีความขัดแย้งทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ เหล่านี้ทำให้คณะกรรมการทั้ง 5 ท่าน ได้เห็นถึงพลังของผู้หญิงในงานเขียน ซึ่งผสมผสานทั้งความละเอียดอ่อนและความทรงพลังในเวลาเดียวกัน โดยปีนี้มีนักเขียนส่งผลงานเข้าประกวด 28 เรื่อง สำหรับ ปี 2567 และผ่านเข้ารอบสุดท้าย 8 เรื่อง ได้แก่ เตี่ยของเมฆ โดย คุณขนิษฐา วชิราพรพฤฒ , ใกล้หมึกเปื้อนโลหิต โดย คุณฐาปนีย์ วงศาโรจน์ , มงกุฎหนามกุหลาบ โดย คุณจันทรรัตน์ สวัสดิ์จิตร, แดงฉาน โดย คุณเพ็ญพิชชา ประหยัดทรัพย์, ต้นไม้ของแวมไพร์ โดย คุณปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล , Heaven ฝากไว้ที่ปลายฟ้า โดย คุณเพทาย จิรคงพิพัฒน์ , ลำนำจ้าวสังเวียน โดย คุณวิชุดา ราชพิทักษ์ และ Suicide อัตวินิบาตกรรมก่อนใบไม้ร่วง โดย คุณเสาวรี เอียมละออ
ผลงานชนะเลิศ ได้แก่ นวนิยายเรื่อง “ต้นไม้ของแวมไพร์” โดย คุณปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล ได้รางวัลและเงินสด 100,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ต้นไม้ของแวมไพร์ ของปริมพัชร์ เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี นำเสนอเรื่องราวของแวมไพร์สาวนิรนาม ผู้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์ เชื่อมโยงเนื้อเรื่องกับแนวคิดเชิงพุทธปรัชญาที่ลุ่มลึกได้อย่างแยบยล แวมไพร์สาวเธอแตกต่างจากแวมไพร์ทั่วไปที่ไม่ได้ดูดเลือดเป็นอาหาร สหายคู่ใจของเธอคือภูตต้นไม้สาวที่บอกว่าเธอมีชีวิตเป็นนิรันดร์เช่นกัน เธอเดินทางดั้นด้นไปในโลกกว้างเพียงลำพังเพื่อแสวงหาความหมายของชีวิตและบรรเทาความเบื่อหน่าย การผจญภัยหลากหลาย รูปแบบทำให้ผ่านประสบการณ์ที่มีทั้งความรักและการพลัดพราก ความหลง กามราคะ ความเคียดแค้น การต่อสู้และการสูญเสีย การเกิดและ การดับ ในที่สุดเธอจึงได้ตระหนักรู้ว่าแม้จะเดินทางไปนับพันปีจนสุดขอบโลก หากยังได้เดินทางเข้าไปในตัวตนภายในและยังคงการยึดมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสซึ่งล้วนเป็นสิ่งปรุงแต่ง ความเป็นอมตะก็ไร้ความหมาย
ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์หนังสือจัดพิมพ์ภาษาไทย ได้แก่ นวนิยายเรื่อง “ลำนำจ้าวสังเวียน” เขียนโดยสาวใต้ตาคมเขียนนิยายและเรื่องสั้นเพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจตัวเอง คุณวิชุดา ราชพิทักษ์ เมื่อนกเขาชวา วัวชน และต้นไม้ สามารถสื่อสารกันได้ เรื่องราวต่างๆ จึงบังเกิดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นในหลายแง่มุม ความคิดของคนทั้งในด้านมืดและสว่างในใจ ลำนำจ้าวสังเวียน จึงเป็นงานที่อ่านสนุกให้ความรู้ในประเพณีวัฒนธรรม วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่นของทางภาคใต้ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความท้าทายและกิเลสที่ต้องต่อสู้และเอาชนะของมนุษย์ที่มุ่งแต่จะแข่งขันไม่ยอมแพ้ แต่ท้ายสุดมนุษย์ก็ยังมีความดีซ่อนอยู่ เป็นนัยยะแฝงที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม ต่างต้องการความ เข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ความรักและความเมตตา
สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ตกเป็นของ นวนิยายเรื่อง “มงกุฎหนามกุหลาบ” เขียนโดย คุณจันทรรัตน์ สวัสดิ์จิตร ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์หนังสือจัดพิมพ์ภาษาไทย เนื้อเรื่องกล่าวถึงเส้นทางสายอาชีพ ไม่ว่า ‘งาน’ ชนิดนั้นจะมีรูปลักษณ์แบบไหน เรามักคาดหวังถึงผลสำเร็จสูงสุดเสมอ ความสำเร็จที่เปรียบเสมือน ‘มงกุฎ’ ความปรารถนานี้ คงไม่ต่างจากความรู้สึกของมุกแสง…บัณฑิตจบใหม่เริ่มต้นชีวิตการทำงานครั้งแรก จากการเป็นดีเทลขายยา ด้วยหน้าที่ทำให้เธอได้พบรักกับคุณหมอปถวี จวบจนคุณหมอปถวีได้รับทุนไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มถอยห่าง สุดท้ายจึงเหลือไว้แค่ความทรงจำสีจาง แต่ความรู้สึกครั้งนั้นได้สร้างรอยแผลขึ้นในใจของมุกแสงตลอดมา เธอจึงหันเหความรัก ความสนใจทั้งหมดไปที่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว เวลาผ่านไปทั้งคู่ได้กลับมาพบกันและพัฒนาความสัมพันธ์อีกครั้ง แต่แล้วโอกาสบนเส้นทางการทำงานของมุกแสง ทำให้เธอต้องตัดสินใจเลือก ระหว่างความรัก หรือไขว่คว้าหามงกุฎแห่งเกียรติยศนั้นมาสวมใส่
ปิดท้ายกับกติกาการเปิดรับโครงการประกวดงานวรรณกรรมยอดเยี่ยมประเภทนวนิยายของนักเขียนหญิง รางวัลชมนาด ครั้งที่ 14 สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่ กันยายน 2567 – 30 เมษายน 2568 โดยผลงานต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 120 – 200 หน้ากระดาษ A4 ขนาดอักษร 16 Point โดยต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับพร้อมสำเนา รวม 2 ชุด พร้อมบันทึกไฟล์ต้นฉบับในแฟลชไดร์ฟ หรือส่งช่องทางอีเมล editor@praphansarn.com สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.praphansarn.com/
เป็นวาระสำคัญของปีที่ต้องปักหมุดไว้บนหน้าปฏิทิน เฝ้ารอด้วยใจจดจ่อว่าหนังสือเล่มใดจะคว้าชัย กับงานประกาศผลรางวัล “ชมนาด” (Chommanard Book Prize) รางวัลหนังสืออันทรงเกียรติสำหรับนักเขียนสตรี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 สนับสนุนนักเขียนสตรีให้ก้าวสู่การเป็นนักเขียนระดับสากล รวมทั้งช่วยทำการตลาดด้านลิขสิทธิ์ไปสู่ภาษานานาอารยประเทศทั่วโลก ส่งต่อคุณค่าความงามของวรรณกรรมไปสู่บทละครภาพยนตร์ โดยปีนี้ คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเป็นประธานมอบรางวัล ท่ามกลางบรรยากาศคับคั่งไปด้วยแขกผู้มีเกียรติ อาทิ คุณอาทร เตชะธาดา , คุณพิสุทธิ เลิศวิไล , คุณศุภลักษณ์ อัมพุช, คุณอรุโณชา ภาณุพันธุ์ , คุณสุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์ , คุณอุษณีย์ วิรัตกพันธ์, คุณนรีภพ จิระโพธิรัตน์, รศ.ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, คุณกนกพันธ์ สุนทรกมลวัฒน์, คุณชมัยภร แสงกระจ่าง, คุณณรงค์ฤทธิ์ ยงจินดารัตน์ , ผศ.ดร ณัฏฐ์ธีรตา วิทิตวิญญูชน , ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร, คุณกนกวลี พจนปกรณ์ ,คุณกนกอร นนทสวัสดิ์ศรี ฯลฯ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก Ms.GeumJoo Lin จาก Board member of PublisHER ในฐานะเครือข่ายสตรีระดับโลกที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง เพื่อสร้างความเท่าเทียมและสนับสนุนผู้นำหญิง มาสุนทรกถา “แรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงก้าวเดินสู่เวทีสากล” ผลักดันพลังของผู้หญิง ให้ไปไกลยิ่งกว่าเดิม ณ ห้องประชุมชั้น 29 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ธนาคารกรุงเทพ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประกาศผลการตัดสิน “รางวัล ชมนาด” ปีนี้เป็นการจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 แล้ว รางวัลชมนาด (Chommanard Book Prize) คือรางวัลแห่งความสำเร็จของสตรีที่มีใจรักในงานประพันธ์ งานวรรณกรรม เป็นงานที่สร้างสรรค์ของบุคคล ที่เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนสภาพชีวิต สังคมและคตินิยมของคนทุกยุคทุกสมัย วรรณกรรมจึงเป็นสื่อกลางที่สามารถทำให้เข้าใจคนในสังคมอื่นได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรางวัล เวทีการประกวดวรรณกรรมนี้ ยังได้สร้าง “นักเขียน” คุณภาพ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ งานละคร งานภาพยนตร์ สร้างสรรค์ “อาชีพ” ที่ยืนหยัดในก้าวต่อๆ ไป
ดร.กอบศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า “ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด มุ่งมั่น ส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสสตรีในสังคม ได้มีความภาคภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะเป็นนักเขียนระดับนานาชาติ หรือระดับสากล และขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยาน ในการประกาศผลรางวัลในครั้งนี้ และขอยินดีล่วงหน้ากับผู้ที่ได้รับรางวัล ขอเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการทุกท่าน ทีมงานทุกคน ให้ได้ดำเนินการสร้างสรรค์งานคุณภาพที่ดีเช่นนี้ต่อไปครับ”
คุณนรีภพ จิระโพธิรัตน์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานภาพรวมของชมนาดในปีนี้โดยถูกเรียกว่าเป็นปีของ “คนรุ่นใหม่” นวนิยายมีเนื้อหาแหวกขนบ พร้อมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนกับปีก่อน ๆ ในขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนสังคมปัจจุบันที่มีความขัดแย้งทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ เหล่านี้ทำให้คณะกรรมการทั้ง 5 ท่าน ได้เห็นถึงพลังของผู้หญิงในงานเขียน ซึ่งผสมผสานทั้งความละเอียดอ่อนและความทรงพลังในเวลาเดียวกัน
โดยปีนี้มีนักเขียนส่งผลงานเข้าประกวด 28 เรื่อง สำหรับ ปี 2567 และผ่านเข้ารอบสุดท้าย 8 เรื่อง ได้แก่ เตี่ยของเมฆ โดย คุณขนิษฐา วชิราพรพฤฒ , ใกล้หมึกเปื้อนโลหิต โดย คุณฐาปนีย์ วงศาโรจน์ , มงกุฎหนามกุหลาบ โดย คุณจันทรรัตน์ สวัสดิ์จิตร, แดงฉาน โดย คุณเพ็ญพิชชา ประหยัดทรัพย์, ต้นไม้ของแวมไพร์ โดย คุณปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล , Heaven ฝากไว้ที่ปลายฟ้า โดย คุณเพทาย จิรคงพิพัฒน์ , ลำนำจ้าวสังเวียน โดย คุณวิชุดา ราชพิทักษ์ และ Suicide อัตวินิบาตกรรมก่อนใบไม้ร่วง โดย คุณเสาวรี เอียมละออ
ผลงานชนะเลิศ ได้แก่ นวนิยายเรื่อง “ต้นไม้ของแวมไพร์” โดย คุณปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล ได้รางวัลและเงินสด 100,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ต้นไม้ของแวมไพร์ ของปริมพัชร์ เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี นำเสนอเรื่องราวของแวมไพร์สาวนิรนาม ผู้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์ เชื่อมโยงเนื้อเรื่องกับแนวคิดเชิงพุทธปรัชญาที่ลุ่มลึกได้อย่างแยบยล แวมไพร์สาวเธอแตกต่างจากแวมไพร์ทั่วไปที่ไม่ได้ดูดเลือดเป็นอาหาร สหายคู่ใจของเธอคือภูตต้นไม้สาวที่บอกว่าเธอมีชีวิตเป็นนิรันดร์เช่นกัน เธอเดินทางดั้นด้นไปในโลกกว้างเพียงลำพังเพื่อแสวงหาความหมายของชีวิตและบรรเทาความเบื่อหน่าย การผจญภัยหลากหลาย รูปแบบทำให้ผ่านประสบการณ์ที่มีทั้งความรักและการพลัดพราก ความหลง กามราคะ ความเคียดแค้น การต่อสู้และการสูญเสีย การเกิดและ การดับ ในที่สุดเธอจึงได้ตระหนักรู้ว่าแม้จะเดินทางไปนับพันปีจนสุดขอบโลก หากยังได้เดินทางเข้าไปในตัวตนภายในและยังคงการยึดมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสซึ่งล้วนเป็นสิ่งปรุงแต่ง ความเป็นอมตะก็ไร้ความหมาย
ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์หนังสือจัดพิมพ์ภาษาไทย ได้แก่ นวนิยายเรื่อง “ลำนำจ้าวสังเวียน” เขียนโดยสาวใต้ตาคมเขียนนิยายและเรื่องสั้นเพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจตัวเอง คุณวิชุดา ราชพิทักษ์ เมื่อนกเขาชวา วัวชน และต้นไม้ สามารถสื่อสารกันได้ เรื่องราวต่างๆ จึงบังเกิดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นในหลายแง่มุม ความคิดของคนทั้งในด้านมืดและสว่างในใจ ลำนำจ้าวสังเวียน จึงเป็นงานที่อ่านสนุกให้ความรู้ในประเพณีวัฒนธรรม วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่นของทางภาคใต้ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความท้าทายและกิเลสที่ต้องต่อสู้และเอาชนะของมนุษย์ที่มุ่งแต่จะแข่งขันไม่ยอมแพ้ แต่ท้ายสุดมนุษย์ก็ยังมีความดีซ่อนอยู่ เป็นนัยยะแฝงที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม ต่างต้องการความ เข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ความรักและความเมตตา
สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ตกเป็นของ นวนิยายเรื่อง “มงกุฎหนามกุหลาบ” เขียนโดย คุณจันทรรัตน์ สวัสดิ์จิตร ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมค่าลิขสิทธิ์หนังสือจัดพิมพ์ภาษาไทย เนื้อเรื่องกล่าวถึงเส้นทางสายอาชีพ ไม่ว่า ‘งาน’ ชนิดนั้นจะมีรูปลักษณ์แบบไหน เรามักคาดหวังถึงผลสำเร็จสูงสุดเสมอ ความสำเร็จที่เปรียบเสมือน ‘มงกุฎ’ ความปรารถนานี้ คงไม่ต่างจากความรู้สึกของมุกแสง…บัณฑิตจบใหม่เริ่มต้นชีวิตการทำงานครั้งแรก จากการเป็นดีเทลขายยา ด้วยหน้าที่ทำให้เธอได้พบรักกับคุณหมอปถวี จวบจนคุณหมอปถวีได้รับทุนไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มถอยห่าง สุดท้ายจึงเหลือไว้แค่ความทรงจำสีจาง แต่ความรู้สึกครั้งนั้นได้สร้างรอยแผลขึ้นในใจของมุกแสงตลอดมา เธอจึงหันเหความรัก ความสนใจทั้งหมดไปที่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว เวลาผ่านไปทั้งคู่ได้กลับมาพบกันและพัฒนาความสัมพันธ์อีกครั้ง แต่แล้วโอกาสบนเส้นทางการทำงานของมุกแสง ทำให้เธอต้องตัดสินใจเลือก ระหว่างความรัก หรือไขว่คว้าหามงกุฎแห่งเกียรติยศนั้นมาสวมใส่
ปิดท้ายกับกติกาการเปิดรับโครงการประกวดงานวรรณกรรมยอดเยี่ยมประเภทนวนิยายของนักเขียนหญิง รางวัลชมนาด ครั้งที่ 14 สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่ กันยายน 2567 – 30 เมษายน 2568 โดยผลงานต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 120 – 200 หน้ากระดาษ A4 ขนาดอักษร 16 Point โดยต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับพร้อมสำเนา รวม 2 ชุด พร้อมบันทึกไฟล์ต้นฉบับในแฟลชไดร์ฟ หรือส่งช่องทางอีเมล editor@praphansarn.com สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.praphansarn.com/